วันเสาร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2553

เกษตรทฤษฎีใหม่





เกษตรทฤษฎีใหม่

 



            เกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นระบบเกษตร ที่เน้นการจัดการแหล่งน้ำ และการจัดสรรแบ่งส่วนพื้นที่ทำการเกษตรอย่างเหมาะสม อันจะเป็นการแก้ปัญหาในเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรแล้ว ยังก่อให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ เมื่อ วันที่ 4 ธันวาคม 2540 ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศไทยได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากวิกฤติเศรษฐกิจฟองสบู่ แนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ จึงเป็นหนทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม และเป็นฐานรากของแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง การนำทฤษฎีไปใช้ โดยไม่เข้าใจเนื้อหา และปรัชญาที่อยู่ลึกเบื้องหลัง จะมีผลให้แนวทางการดำเนินการดังกล่าว ไม่ถูกจัดว่าเป็นเกษตรกรรมยั่งยืน หลักการของ "ทฤษฎีใหม่"  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทาน "ทฤษฎีใหม่" ให้ดำเนินการในพื้นที่ทำกินที่มีขนาดเล็กประมาณ 15 ไร่ ด้วยวิธีการจัดสรรที่ดินให้เหมาะสมกับการเกษตรแบบผสมผสานอย่างได้ผล เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ใช้จ่ายตลอดปี ซึ่งได้ ดำเนินการอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ซึ่งการพัฒนาตามแนวทาง "ทฤษฎีใหม่" นี้มีความจำเป็นต้องประยุกต์ใช้ในเหมาะสม กับสภาพภูมิประเทศและสิ่งแวดล้อมจึงจะเกิดประโยชน์สูงสุด   ทั้งนี้ ทฤษฎีใหม่ มี 3 ขั้น คือ
"
ทฤษฎีใหม่" ขั้นที่หนึ่ง
             การผลิตเป็นการผลิตให้พึ่งพาตนเองได้ ด้วยวิธีง่าย ค่อยเป็นค่อยไปตามกำลัง ให้พอมีพอกิน ไม่อดอยาก โดยมีแนวทางสำคัญ ประกอบด้วย
             1.
ให้เกษตรกรมีความพอเพียง โดยเลี้ยงตัวเองได้ (Self Sufficiency) ในระดับชีวิตที่ประหยัดก่อน
             2.
ทั้งนี้ ต้องมีความสามัคคีในท้องถิ่น
             3.
มีการผลิตข้าวบริโภคพอเพียงประจำปีโดยถือว่าครอบครัวหนึ่ง ทำนา 5 ไร่ จะมีข้าวพอกินตลอดปี ข้อนี้เป็นหลักสำคัญของทฤษฎีนี้ "หากชาวนาต้องซื้อข้าวกิน ก็หมดสิ้นความเป็นเกษตรกรไทย"
              4.
ต้องมีน้ำ 1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่แต่ละแปลง (15 ไร่) ทำนา 5 ไร่ ทำพืชไร่หรือไม้ผล ฯลฯ 5 ไร่ (= 10 ไร่) จะต้องมีน้ำ 10,000 ลูกบาศก์เมตรต่อปี


โดยสูตรคร่าวๆ แต่ละแปลงประกอบด้วย - นา 5 ไร่
-
พืชไร่ และสวน ฯลฯ (เช่นไม้สร้างบ้าน สมุนไพร ไม้ใช้สอย ไม้ไผ่ ไม้ผล เป็นต้น) 5 ไร่
-
สระน้ำ 3 ไร่ ลึก 4 เมตร ความจุประมาณ 19,000 ลูกบาศก์เมตร (19,200) ปล่อยปลาในสระน้ำ
-
ที่อยู่อาศัยและอื่นๆ (โรงเห็ด เล้าสัตว์เลี้ยง แปลงไม้ดอก ฯลฯ) 2 ไร่ รวมประมาณ 15 ไร่ ถ้ามีที่ดินน้อยกว่านี้ เช่น 10 ไร่ ก็แบ่งตามสัดส่วนโดยประมาณ แต่ที่สำคัญต้องทำข้าวให้พอกินทั้งปี


"ทฤษฎีใหม่" ขั้นที่หนึ่ง


"
ทฤษฎีใหม่" ขั้นที่สอง ให้เกษตรกร รวมพลังกันในรูป กลุ่มหรือสหกรณ์ ร่วมแรงร่วมมือกันในรูป กลุ่มหรือสหกรณ์ ร่วมแรงร่วมมือ กันในด้านต่างๆ คือ
        1.
การผลิต (พันธุ์พืช เตรียมดิน ชลประทาน ฯลฯ)
        2.
การตลาด (ลานตากข้าว ยุ้ง เครื่องสีข้าว การจำหน่ายผลผลิต)
        3.
การเป็นอยู่ (กะปิ น้ำปลา อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ฯลฯ
       4.
สวัสดิการ (สาธารณสุข เงินกู้)
       5.
การศึกษา (โรงเรียน ทุนการศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก)
       6.
สังคมและศาสนา            ทั้งนี้ด้วยความร่วมมือของหน่วยราชการมูลนิธิและเอกชน
"
ทฤษฎีใหม่" ขั้นที่สาม        ติดต่อร่วมมือกับแหล่งเงิน (ธนาคาร) และกับแหล่งพลังงาน (บริษัทน้ำมัน) เพื่อ
        1.
ตั้งและบริหารโรงสี (2)
        2.
ตั้งและบริหารร้านสหกรณ์ (1,3)
        3.
ช่วยการลงทุน (1,2)
        4.
ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต (4,5,6) ทั้งนี้ ฝ่ายเกษตรกรและฝ่ายธนาคารกับบริษัทจะได้รับประโยชน์
         1.
เกษตรกรขายข้าวและพืชผลการเกษตรในราคาสูง (ไม่ถูกกดราคา)
         2.
ธนาคารกับบริษัทซื้อข้าวบริโภคในราคาต่ำ (ซื้อข้าวเปลือกตรงจากเกษตรกรและมาสีเอง)
         3.
เกษตรกร ซื้อเครื่องอุปโภคในราคาต่ำ (เป็นร้านสหกรณ์ราคาขายส่ง)


---------------------
สนับสนุนข้อมูลโดย มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน
http://www.sathai.org

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น